วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555

4.  รูปแบบของการประกอบธุรกิจ
                รูปแบบของการประกอบธุรกิจ การประกอบธุรกิจมี 8 รูปแบบ ได้แก่ ธุรกิจเจ้าของคนเดียว
ห้างหุ้นส่วน บริษัท กิจการร่วมค้า กองทุนธุรกิจ โฮลดิ้งคอมพานี สหกรณ์ สหกรณ์ และรัฐวิสาหกิจ
                ธุรกิจเจ้าของคนเดียว เป็น ธุรกิจที่มีผู้ดำเนินการหรือเป็นเจ้าของเพียงผู้เดียว ถือว่าเป็นธุรกิจที่มีผู้ประกอบการมากที่สุดและมีอายุเก่าแก่ที่สุด มักเป็นธุรกิจในครอบครัว เช่น ร้านโชวห่วย
หาบเร่ แผงลอย ร้านสินค้าสะดวกซื้อ ร้านสินค้าเฉพาะอย่าง
ข้อดีธุรกิจเจ้าของคนเดียว เป็นธุรกิจที่จัดตั้งได้ง่าย ใช้ทุนในการดำเนินการน้อย มีอิสระในการดำเนินธุรกิจ  ผู้ประกอบการจะได้รับประโยชน์จากการประกอบธุรกิจแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ และสามารถเลิกล้มกิจการได้ง่าย
ห้างหุ้นส่วน เป็นรูปแบบการดำเนินการธุรกิจที่มีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปตกลงใจที่จะร่วมลงทุนเป็นหุ้นส่วนซึ่งกันและกัน เพื่อทำธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยการทำสัญญาร่วมกัน มีรูปแบบการดำเนินการ 3 รูปแบบคือห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และห้างหุ้นส่วนจำกัด
ข้อเสียของการประกอบธุรกิจแบบห้างหุ้นส่วน คือ เป็นธุรกิจที่มีปัญหาในเรื่องความซื่อสัตย์ของ     ผู้ร่วมหุ้น เพราะต้องมีความรับผิดชอบร่วมกัน นอกจากนั้นการถอนหุ้นส่วนทำได้ยาก และมีความไม่แน่นอนในการประกอบธุรกิจมาก
บริษัท เป็นการประกอบธุรกิจสามารถจัดตั้งได้ 2 ประเภท ได้แก่
1.  บริษัทจำกัด เป็นธุรกิจที่มีการลงทุนร่วมหุ้นของบุคคลตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป อาจรู้จักหรือไม่รู้จักกันเลยก็ได้ แต่มีวัตถุประสงค์ร่วมกันเพื่อประกอบการค้าอย่างใดอย่างหนึ่ง มีผู้เชี่ยวชาญมาประกอบกิจการ  จ้างผู้มีความรู้ความสามารถ ระดมทุนกันมาก ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบเพียงค่าหุ้นที่ตนซื้อ
   2.  บริษัทมหาชน คือรูปแบบของการประกอบธุรกิจที่จัดตั้งโดยอาศัยพระราชบัญญัติ
บริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535 เป็นลักษณะมหาชน (Public company limited) เป็นบริษัทที่มีวัตถุประสงค์ที่เสนอขายหุ้นให้ประชาชนทั่วไป แบ่งหุ้นเป็นหุ้นละเท่าๆ กัน ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบจำกัด ไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ มีความแตกต่างจากบริษัทเอกชนตรงที่ มีขนาดใหญ่ ต้องใช้ทุนมาก สามารถเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไป การตั้งชื่อบริษัทมหาชนจะต้องมีคำว่า “บริษัท” นำหน้าและมีคำว่า “จำกัด(มหาชน)” ต่อท้าย หรือใช้ชื่อย่อว่า “บมจ.”  นำหน้าแทนคำว่า“บริษัท”  และต่อท้ายด้วยคำว่า “จำกัด(มหาชน) ก็ได้
                กิจการร่วมค้า  เป็นรูปแบบของการประกอบธุรกิจที่เป็นความร่วมมือระหว่างเอกชนกับเอกชน เช่น ระหว่างบริษัทกับบริษัท  หรือบริษัทกับห้างหุ้นส่วน อาจมีลักษณะเป็นการร่วมลงทุนข้ามชาติระหว่างบริษัทภายในประเทศกับบริษัทต่างชาติ นิยมใช้ในการประกอบธุรกิจที่ใช้เวลาสั้นๆในการประกอบการ เมื่อดำเนินธุรกิจเรียบร้อยแล้วก็ยกเลิกกิจการร่วมค้าไป
ลักษณะสำคัญๆ ของกิจการร่วมค้า มีดังนี้
  1. เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทกับบริษัท หรือระหว่างบริษัทกับห้างหุ้นส่วน แต่ระหว่างห้างหุ้นส่วนกับห้างหุ้นส่วนไม่ได้
  2. ผู้ร่วมลงทุนจะต้องร่วมกันรับผิดชอบในหนี้สินที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ โดยไม่จำกัดความรับผิดชอบ
  3. กิจการร่วมค้ามักมีลักษณะความร่วมมือชั่วคราว โดยมีจุดประสงค์เพื่อดำเนินกิจการใดกิจการหนึ่งให้สำเร็จลุล่วงแล้วเลิกกิจการร่วมค้าไป
  4. การถอนตัวจากกิจการร่วมค้าจะกระทำได้เมื่อผู้ร่วมกิจการยินยอมเท่านั้น หากไม่ยินยอมแล้ว   จะถอนตัวไม่ได้
  5. หากผู้ร่วมกิจการร่วมค้าคนใด คนหนึ่งเสียชีวิต กิจการร่วมค้านั้นยังคงดำเนินต่อไปได้ โดยไม่ต้องยกเลิกเพราะถือว่าเป็นการดำเนินธุรกิจของนิติบุคคล
กองทุนธุรกิจ เป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป นำทรัพย์สินที่ประสงค์จะลงทุนไปมอบให้กับบุคคลหรือนิติบุคคลอีกคนหนึ่ง ซึ่งอาจประกอบกิจการในรูปแบบของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทก็ได้ เพื่อนำทรัพย์สินไปประกอบธุรกิจ โดยมีการกำหนดเงื่อนไขของการลงทุนและกำหนดระยะเวลาในการลงทุนไว้อย่างชัดเจน
โฮลดิ้งคอมพานี เป็นธุรกิจที่เน้นการเข้าควบคุมนโยบายของบริษัทในเครือของตนเอง โดยวิธีการเข้าซื้อหุ้นของบริษัทในเครือ มักเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท จึงมีอำนาจในการกำหนดนโยบายในการดำเนินกิจการของบริษัทในเครือ บริษัทที่เข้าไปควบคุมนโยบายมีชื่อเรียกว่า “บริษัทแม่” ส่วนบริษัทที่ถูกควมคุมเรียกว่า “บริษัทในเครือ
                โฮลดิ้งคอมพานี มีลักษณะสำคัญดังนี้
  1. บริษัทที่ขายหุ้นให้บริษัทอื่นเกินกว่าร้อยละ50 จึงถูกควบคุมในด้านนโยบาย และ
                     การบริหารจัดการ (เรียกว่าบริษัทในเครือ)
  1. บริษัทที่เข้าไปควบคุมนโยบายของบริษัทในเครือโดยการซื้อหุ้นเพื่อให้ตนเองเป็นผู้ถือหุ้น    รายใหญ่ (เรียกว่าบริษัทแม่)
  2. เป็นลักษณะการขยายธุรกิจของบริษัทแม่เพื่อให้มีเครือข่ายของธุรกิจที่กว้างขวางและครอบคลุม
รัฐวิสาหกิจ หมายถึง การประกอบกิจการหรือธุรกิจที่รัฐบาลเข้าไปดำเนินการเอง โดยเป็นเจ้าของกิจการนั้นทั้งหมด หรือเป็นเพียงบางส่วน ที่เป็นส่วนใหญ่คือมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละ 50 หรือเกินกว่าครึ่งหนึ่งของทุนทั้งหมดของกิจการนั้น โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเพื่อควบคุมดูแลกิจการที่มีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน เพื่อหารายได้เข้ารัฐ เพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศและเพื่อป้องกันการถูกเอารัดเอาเปรียบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น